ยินดีต้อนรับ สมาชิกใหม่ทุกท่าน

ขอให้มีความสุขการเล่นบอร์ดคับ

By ~Giotto~
ยินดีต้อนรับ สมาชิกใหม่ทุกท่าน

ขอให้มีความสุขการเล่นบอร์ดคับ

By ~Giotto~
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.


VOCALOID
 
บ้านVOCALOIDค้นหาLatest imagesสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 ประวัติความเป็นมาของนาฬิกา

Go down 
3 posters
ผู้ตั้งข้อความ
~tsuna-27~
Admin Master
Admin Master
~tsuna-27~


จำนวนข้อความ : 28
Join date : 08/02/2010

ประวัติความเป็นมาของนาฬิกา Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ประวัติความเป็นมาของนาฬิกา   ประวัติความเป็นมาของนาฬิกา I_icon_minitimeFri Feb 19, 2010 3:40 pm

ในสมัยโบราณมนุษย์ยังไม่มีนาฬิกาใช้ การดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ดวงอาทิตย์จึงเป็นนาฬิกาเรือนแรกที่มนุษย์รู้จัก นักประวัติศาสตร์ชื่อ Herodotus ได้บันทึกไว้ว่า ประมาณ 3,500 ปีก่อน มนุษย์รู้จักใช้ นาฬิกาแดด ซึ่งนับว่าเป็นนาฬิกาเรือนแรกของโลก โดยสามารถอ่านเวลาได้จากเงาที่ตกทอดลงบนขีดเครื่องหมาย

นาฬิกาแดด(Sundial)เป็นเครื่องบอกเวลาและเครื่องมือวัดเวลา

วิธีธรรมชาติแบบหนึ่ง ทีมีใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยอาศัยการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ที่ปรากฎในแต่ละวันเป็นหลัก สมัยโบราณก่อนที่จะเริ่มมีนาฬิกาจักรกลหรือนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ ไว้ใช้บอกเวลาเช่นในปัจจุบันมนุษย์ใช้ประโยชน์จากปรากฎการณ์ธรรมชาติ ในการสังเกตการเปลี่ยนแปลงต่างๆจากธรรมชาติเพื่อการกำหนดเวลา

โดยเฉพาะใช้ดวงอาทิตย์เป็นเครื่องชี้บอกเวลาธรรมชาติที่สำคัญที่สุด เช่นเวลาเช้าดวงอาทิตย์ขึ้น เวลาเที่ยงดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะ เวลาเย็นค่ำดวงอาทิตย์ตกลับจากขอบฟ้าส่วนเวลากลางวัน ในช่วงเวลาอื่นก็อาศัยสังเกตดูจากการทอดเงา ของวัตถุใดวัตถุหนึ่งที่กำหนดให้เป็นเครื่องบอกเวลาของคนในท้องถิ่นนั้น ซึ่งอาจไม่มีความเที่ยงตรง แต่ก็ยอมรับได้สมัยนั้นมาใช้กำหนดเวลาด้วยหลักการตามที่กล่าวมา มนุษย์ในระยะแรกจึงได้ประดิษฐ์คิดค้นนาฬิกาแดด (Sundisl)ให้มี รูปทรงที่เหมาะสมขึ้นมาใช้งานเป็นเครื่องบอกเวลาอย่างง่าย

นาฬิกาแดดคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฎ แต่จากหลักฐานพบว่านาฬิกาแดดพัฒนาขึ้น ในสมัยอียิปต์โบราณหรือราว 2000ปี มาแล้ว นาฬิกาแดดนั้นแสดงเวลาที่อาจคลาดเคลื่อนไป จากเวลานาฬิกาข้อมือของผู้สังเกต แต่ถ้าได้เข้าใจหลักการของนาฬิกาแดดแล้วนำค่าเวลามาแก้ไข เวลาที่ได้จะมีความถูกต้องพอสมควร ที่เป็นเช่นนี้เพราะนาฬิกาแดดนั้น แสดงเวลาธรรมชาติที่ควรจะเป็น ซึ่งต่างจากเวลาของนาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาทั่วไปที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน บอกวัดเวลาหรือแสดงเวลาที่ต้องการให้เป็น หมายความว่าเวลาที่ แสดงจากนาฬิกาแดดนั้นเป็นเวลาที่เราเรียกว่าเวลาดวงอาทิตย์ ณ ตำบลที่นั้นอยู่เป็นประจำ ไม่ใช่เวลาท้องถิ่นสมมุติ หรือเวลาที่เราต้องการให้เป็น

ต่อมาชาวกรีกโบราณรู้จักพัฒนา นาฬิกาน้ำ ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งกว่านาฬิกาแดด เรียกว่า clepsydra ( คำนี้เป็นคำสนธิที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า clep ซึ่งแปลว่า ขโมย และคำ sydra ที่แปลว่า น้ำ ) เพราะนาฬิกานี้ทำงานโดยอาศัยหลักที่ว่า " ภาชนะดินเผาที่มีน้ำบรรจุเต็มเวลาถูกเจาะที่ก้นน้ำจะไหลออกจากภาชนะทีละน้อยๆ เหมือนการขโมยน้ำ " ดังนั้นชาวกรีกโบราณจึงได้กำหนดระยะเวลาที่น้ำไหลออกจนหมดภาชนะว่า 1 clepsydra แต่นาฬิกาน้ำนี้ต้องมีการเติมน้ำใหม่ทุกครั้งที่หมดเวลา 1 clepsydra และในฤดูหนาวน้ำจะแข็ง
นาฬิกาน้ำของอียิปต์ เมื่อประมาณ 1,400 ปี ก่อนคริสตกาล อาศัยน้ำหยดออกจากรูข้างใต้ภาชนะ


ในปี ค.ศ.1929 Warren Morrison ได้ประดิษฐ์ นาฬิกาควอตซ์ ขึ้นเฉพาะที่เป็น นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาประเภทนี้เที่ยงตรงมาก และในปี ค.ศ.1980 เป็นช่วงเวลาที่เริ่มนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ มีการประดิษฐ์ นาฬิกาโดยใช้ชิป ( chip ) เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมในกลไกของนาฬิกา ซึ่งนอกจากจะบอกเวลาแล้วยังสามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็น และสามารถใช้เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย หลังจากนั้นเทคโนโลยีในด้านการประดิษฐ์นาฬิกาได้ก้าวหน้าเรื่อยมา จนกระทั่งทุกวันนี้เรามี นาฬิกาคอมพิวเตอร์ ใช้กันแล้ว
นาฬิกาแดด ลานหน้าพระอุโบสถวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

สำหรับประเทศไทย คนไทยประดิษฐ์เครื่องบอกเวลาใช้เองเมื่อร้อยปีมาแล้ว คือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงมีวลีที่กำชับรับสั่งกับข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด มีความว่า " สยามจะอยู่รอด รักษาความเป็นไทไม่เป็นขี้ข้าฝรั่ง จะต้องทำให้คนไทยเชื่อมั่น และต่างชาติเชื่อว่าคนไทยนี้เก่ง " จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้ากรมอุทกศาสตร์ท่านแรกของสยาม ชื่อ Captain Loftus จัดทำ นาฬิกาแดด ไว้ให้เป็นเครื่องกำหนดหมายบอกเวลา แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ที่ลานหน้าพระอุโบสถวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนทุกวันนี้
ประวัตินาฬิกา

นาฬิกาแดด เป็นนาฬิกาที่ใช้บอกเวลารุ่นแรกสุด ชาวสุเมเรียนเป็นชนเผ่าหนึ่ง ที่ใช้นาฬิกาชนิดนี้ โดยจะแบ่งช่วงเวลาออกเป็น 12 ช่วงในหนึ่งวัน ซึ่งแต่ละช่วงจะกินเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยใช้วิธีวัดความยาวแสงเงาเป็นมาตรฐานในการวัดระยะเวลา

ด้านชาวอียิปต์ แบ่งเวลาออกเป็น 12 ช่วงเช่นกัน โดยดูเวลาจากเสาหินแกรนิตที่เรียกว่า ?Cleopatra Needles? การดูเวลาจะสังเกตจากความยาวและตำแหน่งเงา ที่แสงอาทิตย์ตกกระทบบนพื้นทำกับขีดทั้ง 12 ช่วงเวลาที่แบ่งไว้ เพื่อจะได้ไว้ดูว่าช่วงกลางวันเหลือเวลาที่เท่าไหร่


ส่วนชาวโรมัน แบ่งเวลาออกเป็นช่วงกลางวันและกลางคืน คอยมีเจ้าหน้าที่ประกาศเท่านั้น ขณะที่ชาวกรีกประดิษฐ์นาฬิกาน้ำ โดยใช้ถ้วยเจาะรูจมลงในโอ่ง เรียกว่า ?Clepsydra? ดูการจมของถ้วยเทียบระยะเวลา ชาวกรีกใช้นาฬิกาชนิดนี้ในศาล ต่อมาในปี 250 ก่อนคริตศักราช นักปราชญ์อาร์คิมิดิส พัฒนานาฬิกาน้ำนี้ขึ้นโดยเพิ่มตัวควบคุมความเร็ว เขาปรับปรุงนาฬิกาชนิดนี้เพื่อใช้งานทางดาราศาสตร์


ต่อมาจึงมีการทำนาฬิกาทรายขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นแก้วเป่าสองชิ้นมีรูแคบๆ กั้นกลาง โดยใช้ทรายเป็นตัวบอกเวลา จัดเป็นนาฬิกาแบบแรกที่ไม่อาศัยปัจจัย ดิน ฟ้าอากาศ มักใช้จับเวลาระยะสั้นๆ เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การบูชา การเฝ้ายาม และการทำอาหาร เป็นต้น

สำหรับนาฬิกายุคใหม่ พัฒนาขึ้นช่วง ค.ศ.100 - 1300 ในยุโรปและในจีน คำว่า ?Clock? ในภาษาฝรั่งเศสแปลว่า ระฆัง อาศัยหลักการดึงดูดก่อให้เกิดน้ำหนักที่จะเคลื่อนคันบังคับ ซึ่งจะทำให้เข็มนาฬิกาเคลื่อนที่


หอนาฬิกาแห่งแรกในโลก ติดตั้งที่มหาวิหารสตร๊าสบวร์ก ในเยอรมันนี ปี ค.ศ.1352 ? 54 และปัจจุบันยังใช้งานได้อยู่

ต่อมาในปี ค.ศ.1577 จึงมีการประดิษฐ์เข็มนาที และในปี ค.ศ. 1656 จึงมีการประดิษฐ์ลูกตุ้มที่ใช้ในนาฬิกาทำให้บอกเวลาเที่ยงตรงยิ่งขึ้น

ส่วนนาฬิกาพก ประดิษฐ์ขึ้นโดย นาย ปีเตอร์ เฮนไลน์ ชาวเมืองนูเรม-บวร์ก

จากนั้นในปี ค.ศ.1962 มีการประดิษฐ์นาฬิกาเชิงอะตอมซีเซียม ใช้ในหอดูดาวกรีนิช ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือว่าจับเวลาคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด

ประเภทนาฬิกา

เราเริ่มต้นกับเรื่องราวการแบ่งประเภทนาฬิกาตามกลไก โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. Mechanical Watch หรือนาฬิกากลไกจักรกล ที่อาศัยการเคลื่อนไหวของฟันเฟืองต่างๆภายในชุดกลไกที่ได้รับแรงขับมาจากลานสปริงมาทำให้นาฬิกาเดินได้ นาฬิกาจักรกลได้รับการคิดค้นมานานหลายร้อยปีซึ่งประมาณกันว่ามีการคิดประดิษฐ์ขึ้นราวศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ

- Manual Winding Watch คือนาฬิกาไขลาน (หรือไขลานด้วยมือ) ซึ่งเป็นนาฬิกาที่มีใช้กันมาแต่ดั้งเดิมโดยอาศัยการไขลานเพื่อดึงให้สปริงลานดึงขึ้น และเมื่อสปริงลานตัวนี้คลายตัว ก็เสมือนการถ่ายโอนพลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนๆฟันเฟืองต่างๆของกลไกและทำให้นาฬิกาทำงาน - Automatic Winding Watch (Self-winding watch) คือนาฬิกาออโตเมติก หรือนาฬิกาไขลานอัตโนมัติ หรือเรียกง่ายๆว่าไขลานและทำงานได้ด้วยตัวเอง นาฬิกาในกลุ่มนี้จะมีตัวโรเตอร์ (Rotor) คอยเหวี่ยงขึ้นลานให้ ขณะที่เราสวมใส่นาฬิกาไว้บนข้อมือตลอด หรือ อยู่ในเครื่องหมุนหรือตู้ไขลานนาฬิกา (Watch winder) ซึ่งแรงเหวี่ยงจากข้อมือและตู้ไขลานจะช่วยให้โรเตอร์ทำงานตลอดส่งผลให้เกิดการขึ้นลานตลอด นาฬิกาจึงสามารถเดินได้ตลอดเวลา และจุดสังเกตของนาฬิกากลุ่มนี้ตัวเรือนเบาๆก็จะได้ยินเสียงโรเตอร์สั่นและหมุนดังเป็นเสียงกิ๊กเบาๆ

2. Quartz Watch ที่เรียกกันว่านาฬิกาควอตซ์หรือนาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ คือนาฬิกาที่ต้องใช้แบตเตอรี่หรือถ่านช่วยในการทำงานนั่นเอง นาฬิกากลุ่มนี้ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เป็นตัวหมุนเข็มนาฬิกาให้เดินบอกเวลาหรือแสดงเวลาผ่านระบบตัวเลขดิจิตอลบนหน้าปัดแบบ LCD หรือ LED ซึ่งจะใช้พลังงานไฟฟ้าบางส่วนส่งผ่านผลึกควอตซ์แล้วรับสัญญาณความถี่กลับออกมาให้ไมโครเซสเซอร์ประเมินผลออกมาเป็นเวลา และควบคุมการเดินของเข็มอีกทอดหนึ่ง นาฬิกาควอตซ์มีความเที่ยงตรงสูงและราคาไม่แพง สะดวกต่อการใช้งาน แต่ไม่นิยมในหมู่นักเล่นนาฬิกาเท่าไร
ขึ้นไปข้างบน Go down
Colonello
administrators
administrators
Colonello


: 27
จำนวนข้อความ : 128
Join date : 07/02/2010
ที่อยู่ : ฐานทัพลับที่ญี่ปุ่น

ประวัติความเป็นมาของนาฬิกา Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ประวัติความเป็นมาของนาฬิกา   ประวัติความเป็นมาของนาฬิกา I_icon_minitimeFri Feb 19, 2010 6:07 pm

ขอบใจนะรัน รัน
ขึ้นไปข้างบน Go down
Tsuna_Vongola10
สามัญชน
สามัญชน
Tsuna_Vongola10


จำนวนข้อความ : 51
Join date : 07/02/2010
ที่อยู่ : โลก

ประวัติความเป็นมาของนาฬิกา Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: Re: ประวัติความเป็นมาของนาฬิกา   ประวัติความเป็นมาของนาฬิกา I_icon_minitimeFri Feb 19, 2010 9:03 pm

ขอบคุนคับ แต่ขี้เกียจอ่านอะ
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
ประวัติความเป็นมาของนาฬิกา
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
 :: ความรู้-
ไปที่: